The Design Way
 — Intentional Change in an Unpredictable World

P. 20
ข้อความที่เลือก
Change is a vital part of our everyday experience of life. We often feel pushed into design because of the perceived pace of change in contemporary human affairs. We are pushed again by the explosion of information we are challenged to gather, understand, and utilize. We are pushed still further by the immense increase in Western technologic development, with its fallout of incomprehensible numbers of distinct tools, machines, products, and all manner of designed artifacts. Thus, we are confronted with more varieties of what can be done, than with what we know we want done. But it is also true that we are pulld into design because it allows us to initiate intentional action out of strength, hope, passion, desire, and love. It is a form of action that generates more energy than it consumes. It is innovative inquiry that creates more resources—of greater variety and potential—than are used. In this way design action is distinct from problem-based reaction, which is triggered by need, fear, weakness, hate, and pain.
แนะนำโดย
สันติ ลอรัชวี
เหตุผลที่แนะนำ
เพราะชีวิตเราอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่ว่ามากหรือเล็กน้อย ไม่ว่าจะอยากยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ และเพราะการออกแบบนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับความเปลี่ยนแปลง จึงน่าสนใจไม่น้อยหากจะลองพิจารณาถึงการที่เราจะออกแบบบางการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเราดูบ้าง ไม่ว่าเราจะเรียกตัวเองว่านักออกแบบ หรือ นัก... อะไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ชีวิตประจำวัน เรามักจะถูกผลักดันให้ออกแบบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ไม่จากตัวเราเองก็จากผู้อื่น ลูกค้าก็จ้างนักออกแบบเพราะต้องการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ในแง่ของยุคสมัยเราก็ถูกผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการออกแบบอีกเช่นกันจากข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมเข้าใส่เราทุกคน ส่งมอบความท้าทายในการรวบรวม ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์ เรายังถูกผลักดันให้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ด้วยจำนวนเครื่องมือ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ และสิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบมาทุกรูปแบบ ดังนั้นเราจึงเผชิญกับความมากมายของ “สิ่งที่สามารถทำได้” มากกว่า “สิ่งที่เรารู้ว่าเราต้องการทำ”    ดังนั้นการที่เราถูกดึงเข้าสู่กระบวนการออกแบบนั้น เพราะมันทำให้เราได้เริ่มต้นการกระทำบางอย่างที่มีเจตนาอย่างแรงกล้า มีความหวัง ความหลงใหล ความปรารถนา และความรัก อันเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำที่สร้างพลังงานมากกว่าที่ใช้ไป มัน เป็นการค้นคว้าที่สร้างทรัพยากรให้มากขึ้น มีความหลากหลายขึ้น และมีศักยภาพ มากกว่าที่ใช้ไป ด้วยวิธีนี้การออกแบบจึงแตกต่างไปจากปฏิกิริยาที่เกิดจากการตอบสนองปัญหา ซึ่งเกิดจากความต้องการ ความกลัว ความอ่อนแอ ความเกลียดชัง และความเจ็บปวด
ชื่อผู้เขียน
Harold G. Nelson and Erik Stolterman
ชื่อผู้แปล
Harold G. Nelson and Erik Stolterman
สำนักพิมพ์
The MIT Press
ปีที่จัดพิมพ์
2012
HASHTAG