EveryOne-O-One (2024) : Class Note #5

บทความนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้ จากห้องเรียน EveryOne-O-One วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567
บันทึกโดยคุณณัฐชยาพร แสงคำ (EveryOne-O-One : Note Taker)

EveryONE-O-ONE week 05:
EveryOne-O-3 : ขยับ-ปรับ-โฟกัส

Host: สันติ ลอรัชวี (ติ๊ก)

เกี่ยวกับ Focus

Focus หรือการทำบางอย่างให้ชัด Framework คือกรอบการทำงาน เวลาที่เรามองเรามักเห็นเท่าที่สายตาเรารับได้ โลกทางภาพที่เรามองเห็นหรือ Visual Entity สายตามักจะพยายามหาสิ่งที่สนใจเสมอ เช่นอาจารย์ติ๊กที่กำลังอุ้มโซซูระหว่างการสอน อาจารย์ติ๊กเป็น Visual Entity แต่บางคนอาจเหลือบมองน้องโซซูที่อยู่ในอ้อมแขนอาจารย์ หรืออย่างเช่นมีวัตถุดิบในภาพ 5 อย่าง แต่ในกลุ่มวัตถุ 5 ชิ้นเราโฟกัสว่ามีของคล้ายวงกลมอยู่ 4 ชิ้น ยามที่เราเอ่ยถึงโฟกัสจึงหมายถึงความจดจ่อของเราหรือ Concentration อีกตัวอย่างที่ชัดคือ เวลาข้ามถนนองค์ประกอบในการรับรู้เต็มไปหมด แต่เราจะเลือกแค่อะไรสำคัญต่อเราที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ เป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดพื้นฐาน

ภาพ Las Meninas ของ Diego Velázquez เมื่อเห็นภาพนี้ครั้งแรกจุดสนใจอยู่ที่ไหน?
คุณเบสตอบกระจกสะท้อน
คุณแก้วตอบผู้หญิงตรงกลางภาพที่แสงส่องโดน
คุณแค๊ทตอบคนแคระขวามือ
คุณออยตอบกรอบรูปในภาพ
คุณนัดตอบว่าชายข้าง ๆ ผู้หญิง

ภาพนี้เป็นภาพพอตเทรตครอบครัวที่ King Philip IV of Spain จ้างให้ศิลปินมาวาด ในภาพมีลูกสาวที่เกิดจากภรรยารอง นางสนมคนใช้ และศิลปินเองก็เขียนตัวเองถือพู่กันลงไปในภาพด้วย และจัดแสงให้ลงตรงลูกสาวสร้างจุด Contrast ให้ภาพ ความต่างระหว่างสิ่งรอบ ๆ กับตรงกลาง หากมองด้วยตา ลูกสาวเด่น แต่หากมองด้วยมิติอื่น Mystery จะเด่นชัดขึ้นมา ท่ามกลางหมู่คนในภาพมีคน ๆ หนึ่งมองมาที่คนดู บริเวณระยะหน้าสุดที่มีเฟรมผ้าใบวางอยู่ โฟกัสของจิตรกรแสดงถึงอิริยาบถที่กำลังวาด และหากมองเงากระจกด้านหลัง จะพบว่าประธานเป็นกษัตริย์ ภาพนี้จึงตอบโจทย์ทั้งการเป็น Family Portrait, King Portrait ภาพหนึ่งภาพสามารถทำให้คนมองมุมที่ต่างกัน เล่าเรื่องที่ได้ต่างกันได้ อยู่ที่คุณเข้าไปเจอใคร ดังนิทานเรื่องตาบอดคลำช้างที่ต่างคนต่างเล่าหน้าตาของช้างแตกต่างกันไปตามจุดที่ลองสัมผัส

ภาพวาด Las Menias ของ Pablo Picasso เป็นงานที่ Tribute ให้ภาพวาดก่อนหน้า คนหนึ่งคนไม่ได้มีมุมเดียวหรืออุปนิสัยเดียว  Cubism ไม่ใช่เพียงแค่ภาพวาดของอะไรเหลี่ยม ๆ ทว่าในยุคนั้นคนเริ่มเรียนรู้แล้วว่าไม่มีอะไรเป็นความจริงอันแน่แท้เพียงหนึ่งเดียว (Absolute Truth) เราสามารถมองเห็นได้หลายมุม มองด้วยตาหลายชุด และภาพ Las Menias มีความละโมบที่จะเสนอหลากหลายมุมมองในภาพชุดเดียว การเข้าสู่ Design Mode จะทำให้คุณมีหลายคำตอบให้แก้โจทย์นั้นได้

“God is in the details” ของสถาปนิก Ludwig Mies van der Rohe อาจชวนคิดถึงยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นเท่าตัว ผลิตเร็วมาก คุณจะสร้างสิ่งที่พิเศษได้อย่างไร ดีเทลไม่ใช่เพียงแค่รายละเอียดที่มากกว่าคนอื่น ท่ามกลางความเหมือนและคล้ายมากมายเหล่านี้ เราจะเลือกทำอะไร เราเห็นความต่างเหล่านี้อย่างไร เมื่อคุณแบ่งได้ คุณจะเริ่มเห็นช่องว่าง อาจเป็นเหตุผลว่าคนญี่ปุ่นผลิตอะไรได้มากมายด้วยมุมมองนี้ มองโลกในรายละเอียดมาก  ความงามแบบซากุระร่วงก็มองเปรียบเปรยได้หลายอย่าง เช่นความรักที่กำลังจะจบลง จุดเริ่มต้นฤดูใหม่ สุทนทรียศาสตร์อีกมากมาย  สิ่งที่โลกศิลปะผลิตอยู่ตลอดคือการเห็นความงามอันหลากหลาย

พามาดูอีกหนึ่งโควตน่าสนใจ No detail is too small แคมเปญของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ที่ทำขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและพูดสิ่งที่ต่างออกไป คุณค่าของแบรนด์อยู่ในรายละเอียด ทวิสต์กลับเพื่อพูดว่าคราฟต์อยู่ในรายละเอียด เขาจ้างศิลปินผลิตโมเดลจำลองเครื่องบิน เปรียบเปรยว่าสายการบินหนึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกที่จะหยิบฉวยสิ่งที่อยู่ในปัญหามาพูดใหม่ ชมตัวอย่างวิดีโอแคมเปญโฆษณาได้ที่ https://youtu.be/wt99b5ccwqk?si=Jjxr6TgcqFkRZmLE

หรืออีกตัวอย่างล่าสุดคือ AI ของแอปเปิ้ล แต่แอปเปิ้ลกลับสวนทาง คนอื่นขายเทคโนโลยีแต่แอปเปิ้ลยังคงมี Framework เป็น user เหมือนเดิม

กิจกรรมเดี่ยวที่ 1

กิจกรรมแรกวันนี้เริ่มด้วยการ ให้ทุกคนเอาเก้าอี้ออกแล้วยืนรอบโต๊ะ ถือโทรศัพท์ไว้กับตัว แล้วเดินสำรวจของบนโต๊ะ 360 องศา ก่อนเลือกจุดสนใจของตัวเองอย่างหนึ่งโดยไม่แตะต้องวัตถุนั้น พอเลือกได้แล้วให้ถ่ายรูปมุมที่สนใจในอัตราส่วนจตุรัสพร้อมอธิบายสาเหตุที่เลือก

  • คุณแค๊ท เลือกลูกบาศก์ตระแกรงเหล็กเพราะรู้สึกน่าสนใจดี พอลองมองแล้วมีหลายพื้นผิว หลายมุม หลายเฉดเงา จริงๆ ชอบอีกอันที่ใหญ่กว่า แต่รู้สึกชิ้นนี้มีเลเยอร์มากกว่า มีดีไซน์มากกว่าอีกอันที่ดูค่อนข้างทั่วไป อาจารย์ติ๊กสรุปให้ว่าสาเหตุการเลือกนั้นเป็นเพราะของชิ้นนี้ความเป็นเฉพาะเจาะจง คำว่ามีดีไซน์ในนิยามคนทั่วไปหรือคนอื่นบัญญัติความหมายไว้
  • คุณนัท เลือกถ่ายซูมปริซึม คุณนัทมีคำถามกับแสงที่เห็นว่าเป็นเงาสะท้อนหรือแสงสะท้อนจากอะไร เกิดได้อย่างไร จึงเลือกมุมนี้ในท้ายที่สุด
  • คุณแอล ลังเลระหว่างสองตัวเลือก อันหนึ่งเหมือนชีสเค้ก อีกอันเหมือนแว่นสัปปะรด ตัดสินใจเลือกชีสเค้ก วิธีเลือกของคุณแอลคือการมองของเพื่อหาความสัมพันธ์กับสิ่งของอย่างอื่นที่นึกถึงได้เช่นชิ้นนี้เหมือนชีสเค้ก ชิ้นนี้เหมือนเนื้อสัปปะรด
  • คุณส้ม เลือกกิ่งไม้ สแกนแล้วส่วนมากมีแต่รูปทรง Geometric กับ Organic เลยตัด Geometric ออกไปก่อน ชอบเงาของกิ่งไม้ที่ยกขึ้นมา และรู้สึกรีเลทตัวเองกับของออร์แกนิคมากกว่า กิ่งไม้ชิ้นนี้เลยดึงดูดกับเรามากกว่า เห็นแล้วรู้สึกถึงป่าสนไม้ จากกระบวนการเลือกทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่าเป็นคน Systematic กว่า แล้วเคลียร์ไปทีละเรื่องก่อนจบด้วยใช้ตัวเราเป็นคนตัดสินใจ
  • คุณแก้ว เลือกปริซึมเดียวกัน อยากได้อะไรที่ได้สีเยอะ ๆ มองมุมอื่นยังมีไม่กี่สี จนลองเปลี่ยนมุมเรื่อย ๆ และเลือกมุมนี้เพราะมีหลายสี กระบวนการของคุณแก้วตั้งคุณสมบัติที่ตัวเองชอบขึ้นมาก่อน แล้วหาว่าของชิ้นไหนตรงคุณสมบัติที่ต้องการ ของที่เหลือก็หลุดคุณสมบัติทันที
  • คุณน้ำอุ่น ตอนที่เดินวนรอบ ๆ อยากได้อะไรที่ไม่ได้ถ่ายแล้วเป็นสิ่งนั้นเลย  สุดท้ายเลยถ่ายเป็นการขยายให้เห็นข้างใต้ของทรงกลมอะคริลิก กระบวนการของคุณน้ำอุ่นหาบางอย่างเพื่อหาอะไรที่มากกว่าสิ่งที่เป็น Framework ของการสำรวจ  แม้หาคำตอบไม่เจอแต่เราหาวัตถุดิบบางอย่างที่จะให้อะไรกับเรามากขึ้นไปอีก
  • คุณออย เลือกวัตุเดียวกับคุณแอลมุมก็คล้ายกัน เหมือนหรือต่างอย่างไร สาเหตุที่เลือกเพราะชิ้นอื่นเป็นชิ้นเดียวแต่ชิ้นนี้เป็นวัตถุเดียวที่สามารถแยกออกได้ เล่นกับมันได้มากกว่าที่เป็น แล้วถ้าได้ดึงออกมาเว้าแหว่งจะเป็นอย่างไร  ถึงแม้จะมีคล้าย ๆ กับของเพื่อน แต่หากฟังต้นทางจะค้นพบว่าขั้นตอนการคิดไม่เหมือนกันเลย Execute ออกมาต่างกัน เช่นเดียวกับงาน Abstract สร้างกรอบการงานเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต่างกัน มองหาความต่าง คุณออยให้น้ำหนักกับคุณสมบัติที่สามารถแยกออกได้ เพราะเราต้องการสร้างคุณสมบัติใหม่ด้วยการสลับจับวางสิ่งของเอง
  • คุณเบส เริ่มมองที่แหล่งกำเนิดแสงพบว่ามีเงาเดี่ยวเงาคู่ ต่อมากรองจากวัสดุ แต่ตอนแรกเลือกลูกแก้วเพราะมีสีส้ม แต่พอมาส่องอะคริลิกแบน กลับพบว่าเป็นชิ้นเดียวที่ไม่มีเงาเลย จึงเริ่มสังเกตที่สภาพแวดล้อม กระบวนการของคุณเบสมีความน่าสนใจ แรกเริ่มสนใจที่การเกิดเงา เปลี่ยนกรอบการทำงานมาเป็นแสงกับอะครลิก แต่ก็ยังไม่หยุด รื้อการเลือกของตัวเองว่าไม่มีแสงสะท้อน ไปต่อกับอะไรที่ไม่เหมือนกับโจทย์แรก พอเลือกมาแล้วดันชอบหมดเลยอีก โดยปกติเรามักพยายามบรรลุไอเดียแรก แต่คุณเบสโต้คลื่นกับสิ่งที่ค้นพบ พาไปตรงไหนแล้วเปลี่ยนเฟรมเวิร์ก บางคนเวลากรอบการทำงานไม่เวิร์กแต่ก็ยังดันทุรัง ทว่าเมื่อเราเปลี่ยนเราต้องรู้ตัวว่ากำลังโยกโฟกัสอยู่ มีโอกาสผจญภัยมากขึ้น รีเฟรมปัญหาอยู่ตลอดทำให้ตัวเองรอดได้  Convince ให้เปลี่ยนความคิดเพื่อเอาตัวรอด และเมื่อถึงระดับสุดท้ายจะต้องเป็นพื้นที่ที่เราจะดันไปให้สุด การตัดสินใจสุดท้ายต้องเป็นของเรา จะต่อรองกับโจทย์ของตัวเองอย่างไรก็ได้ คุณเดินทางแล้วคุณเลือกบริบท เลือกคุณสมบัติที่ตอบโจทย์แล้วเทียบคุณสมบัติเพื่อตัดสินใจผลลัพธ์ด้วยตนเอง

กิจกรรมกลุ่มที่  1

ใช้กล้องโพราลอยด์ในการถ่ายภาพ เพราะจุดที่เล็งมักไม่ตรงกับสิ่งที่ถ่ายออกมาจึงต้องเล็งอย่างระมัดระวัง คราวนี้ของที่อยู่บนโต๊ะเป็นงานกลุ่ม ให้สร้างคอนเนคชันของทุกวัตถุ สามารถถ่ายมือถือเก็บไว้แล้วลองขยับได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจก่อนใช้กล้องโพราลอยด์ถ่าย กิจกรรมนี้จะเป็นการคิดด้วยมือ เมื่อถ่ายเรียบร้อยให้อธิบายความสัมพันธ์คนละ 1 คำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแบบที่ได้ช่วยกันทำออกมา

ผลลัพธ์กิจกรรมกลุ่มที่ 1

  • คุณเบส วัสดุ แก่นของวัสดุกระจุกตัวรวมกัน
  • คุณแอล สี สีไล่ตั้งแต่เข้ม ขาว ใส น้ำตาล
  • คุณส้ม คุณสมบัติ พื้นผิวที่ใกล้เคียงกันจะทับอยู่
  • คุณนัท ฟอร์ม ของประกอบกันหลาย ๆ ชิ้นเกิดเป็นรูปทรงใหม่
  • คุณน้ำอุ่น ทุกคนพยายามจะมองเป็นอะไรที่ชอบไม่ชอบใช่ไม่ใช่
  • คุณแก้ว ครีเอทเป็นเมืองแม้วัสดุไม่เหมือนกันแต่สร้างเป็นเมือง
  • คุณออย สิ่งที่เชื่อมต่อกันมาเรื่อย ๆ เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่สร้าง Agreement ร่วมกัน
  • คุณแค๊ท ความสัมพันธ์เหมือนหรือต่าง กลุ่มด้านหนึ่งเป็นไม้หมด แต่อีกฝั่งดูยังหลากหลายอยู่ พื้นที่ว่างตรงกลางยังมีแกปมีช่องว่างอยู่เกิดคำถามว่าที่ว่างนั้นอยู่ในความสัมพันธ์หรือไม่

เกี่ยวกับความสัมพันธ์

  • คอนเนคหรือไม่คอนเนคเป็นสิ่งที่แปรผันได้ เช่นเวลาจัดองค์ประกอบบนโปสเตอร์เราโฟกัสที่ปัญหาว่าทำไมบรรทัดนี้กับตรงนี้ห่างกัน บางทีดีไซน์เนอร์มองเห็นทางออกอื่นด้วยการไปขยายอีกจุดแทนแต่ยังได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ หรือออกแบบโลโก้ ลูกค้าบอกมันเล็กไป ดีไซน์เนอร์มีตัวเลือกใส่ความคิดได้ว่าเป็นตำแหน่งขององค์ประกบอที่ว่างอยู่ เป็นการเฟรมปัญหาให้แตกต่างกัน มองเห็นเหตุของปัญหามากกว่าหนึ่ง ดีไซน์เนอร์ไม่ใช่แค่ทำงานครับตามสั่ง แต่เป็นนักแก้ปัญหา คุณเลือกก่อนว่ามีทางออกอะไรบ้าง
  • ความสัมพันธ์ หมายถึงในทุกระดับความสัมพันธ์ ยิ่งคุณเห็นมากเท่าไหร่ คุณก็เห็นรายละเอียดมากเท่านั้น ความสัมพันธ์มี 2 แบบ ระหว่างสิ่งที่เรารับรู้อย่างตรงไปตรงมา Literal ความสัมพันธ์ที่ตรงกับกายภาพ เวลาเราสังเกตเรามักเลือกไปในทิศทางนี้โดยธรรมชาติ วัสดุสีพื้นผิวรูปทรง Metaphor หรืออุปลักษณ์เทียบสิ่งที่เป็นคนละกลุ่มเช่น ในกิจรรมเดี่ยวที่ 1 คุณแอลตอบว่าของอันนี้เหมือนชีสเค้ก อีกอันเหมือนสัปปะรด เราสามารถพาเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่งได้ ใช้ความคิดใช้จิตใจเชื่อมได้ คุณนัดพูดถึงการประกอบแล้วเป็นฟอร์มใหม่ การเห็นส่วนย่อยเป็นส่วนใหญ่ การเป็นสมาชิกร่วมกันแม้จะต่างกันอาจพาไปสู่เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นได้ ใช้บางส่วนเพื่อให้เกิดอีกความหมายหนึ่งขึ้นมา
  • Arbritary Conventional ไม่มีตรรกะเลยตามยถากรรมเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างสเปะสะปะ เราอยู่ในโลกที่มีความสัมพันธ์นี้มากที่สุด เช่นลูกแอปเปิ้ลที่แหว่ง คนคิดไปถึงความหมายต่าง ๆ นา กระทั่งแบรนด์สิ่งของ หรือพฤติกรรมเวลาได้ยินเพลงชาติแล้วหยุดเดิน ซึ่งเกิดด้วยระเบียบ  หัวใจสำคัญคือเกิดจากการเป็นข้อตกลงร่วมกันอย่างไร ตัวอย่างของออย อีกตัวอย่างที่ใช้กันเยอะคือ ภาษา หากเป็นเพียง Literal ไม่สามารถรองรับการใช้งานได้
  • ศาสนานับเป็นความสัมพันธ์แบบใด? ทั้งสองข้อเป็นสภาวะเหมือนบันไดต่อยอดไปอีกชุดความเชื่อจึงต้องใช้องค์ประกอบทั้งหมดเพื่อให้ตกลงกันได้ เช่นน้ำเป็นสภาวะหนึ่งได้และกลายเป็นอีกสภาวะได้

กิจกรรมเดี่ยวที่ 2

  • ถ่ายภาพอีก 2 ภาพก่อนพักเบรค ภาพที่ 1 ให้ถ่ายภาพรวมไม่จำเป็นต้องมีทุกชิ้น เป็นคลัสเตอร์ได้ ค่อยหามุมที่เป็นดีเทลเพิ่มขึ้นโดยดูจากโพราลอยด์ก่อน ภาพที่ 2 ถ่ายซูมด้วยโทรศัพท์ หลังจากนั้นอธิบาย
  • เหตุผลที่ให้ใช้โพราลอยด์ถ่ายก่อน เพราะเป็นกล้องที่กระบวนการถ่ายมักออกมาไม่ได้ดั่งใจ เพื่อกระตุ้นให้คิดว่าอยากได้อะไร จำต้องไตร่ตรองก่อนถ่ายอีกรอบหนึ่งก่อนที่จะถ่ายอีกครั้งให้ดี

ผลลัพธ์กิจกรรมเดี่ยวที่ 2

  • คุณเบส มีภาพรวมอยู่ในเงาสะท้อน เวลาถ่ายมีแฟลชแต่พอปิดเป็นอินฟาเรดแทน จึงเรียนรู้ว่าเป้าเบี้ยวและมีอินฟาเรด ถ่ายอีกรอบด้วยมือถือแบบที่ต้องการอีกรอบ ได้เห็นการลองผิดลองถูก เคสที่สองเลยยังอยู่ที่เดิมแต่ทำให้ดีกว่าเดิม
  • คุณแก้ว อยากเก็บที่เป็นไม้กับพลาสติกเพราะชอบ เลือกส่วนที่ทุกคนต่อขึ้นมา แต่พอถ่ายโพราลอยด์ความสูงภาพขาด เลยถ่ายอีกรอบให้สะท้อนผ่านอะคริลิกแทน อยากจะเก็บทั้งสองอย่าง แต่พอโพราลอยด์ไม่ตอบสนองเราเป็นของแทนกันได้อยู่ งั้นเลือกเอาบางพาร์ทยกระดับ เลยเปลี่ยนคอมโพสิชันเป็นสองอย่างในคอมโพสใหม่ ทำให้บริบทเปลี่ยน โฟกัสไม่ใช่แค่ความคิดแต่เป็นความชัดในความคิดด้วย เพื่อให้แจ่มชัดในการตัดสินใจ หากไม่มีความผิดพลาดงานที่ออกมาจะเป็นอีกแบบ
  • คุณออย ตอนแรกถ่ายมุมอะคริลิกกับปู แบ่งเป็นสามกลุ่ม ดูแต่ละมุมว่าอยากถ่ายมุมไหน แต่รู้สึกตัวเองมองมุมนี้บ่อย พอถ่ายออกมา ก็แปลกใจมีรูวงกลมอยู่ตรงกลาง แล้วไปจบที่วงล้อใกล้ ๆ ถ่ายมาแล้วมีรู พอถ่ายอีกครั้งก็ไปถ่ายชิ้นที่มีรูแทน เหมือน Creative Journey ที่แตกต่างกัน
  • คุณนัท ชอบองค์ประกอบ โฟกัสตรงลาย โดยสำรวจอีกรอบเจอรอยที่คอนเนคเลยเลือกถ่ายจุดนี้ อาจารย์ติ๊กนิยามว่าเป็นการดีเลย์ Preconception วิ่งไปหาความสนใจแต่เมื่อเจอบั๊ก สามารถสร้างเส้นทางใหม่ โพราลอยด์คือจุดบั๊ก พบทางในดีเทลแต่ว่าใช้เวลาหน่อย
  • คุณแค๊ท ตอนแรกเบี้ยวแสงไม่ครบ พอครั้งที่สองจากอันที่เห็นกว้างเลยโฟกัสที่เลเยอร์เข้าไป เพื่อให้เกิดภาพสะท้อนบางอย่าง ของที่เป็นแบบมีช่องมีทุกอย่างเชื่อมโยงวนกลับมามีรสชาติครบ ที่อยากได้ไม่ตรงเลย พอถ่ายรอบสองเอากลับมาอย่างจัดกว่าปกติเสียอีก
  • คุณน้ำอุ่น พยายามจะถ่ายเก็บให้ครบและสุดท้ายเลือกมุมนี้เพราะชอบและเด่นสุด ตรงข้างหลังมันไม่ชัดในโพราลอยด์ ทำให้มาสนใจข้างหน้าเลยมาสนใจมุมที่ถ่ายมามากขึ้น ตอนที่เล็งเลือกให้อยู่หลายเลเวลเพราะไม่อยากถ่ายเสยติดใคร การที่คุณน้ำอุ่นไม่ได้พูดถึงศูนย์กลางของวัตถุ สังเกตปัจจัยเยอะ องค์ประกอบเยอะ การห่างจากการสำรวจสำคัญพอ ๆ กับภาพที่เห็น แต่เราต้องการบอกที่ตรงนี้ว่าเราเห็นอะไร เหมือนกับภาพจิตรกรรมในต้นคลาส
  • คุณแอล เริ่มจากการขยับเปลี่ยนมุมเพราะเบื่อมุมเดิม เลยเลือกไกลมาก ติดอาจารย์ติ๊ก ลองมองของที่มีรูปร่าง ๆ คล้าย ๆ คน พยายามคอมโพสให้มีลำดับที่คล้ายกับในโพราลอยด์ก็เลยได้พี่แค๊ทติดมา กลับมาที่การใช้ Metaphor สถานการณ์กับองค์ประกอบในเชิงวิชวล ในงานออกแบบมักทำกันบ่อย คุณเห็นอุปนิสัยขององค์ประกอบอย่างไร เหมือนเวลาศิลปินศึกษางาน มักสังเกตเชิงโครงสร้าง เขาอยู่ด้วยกันอย่างไรแล้วนำวิธีนั้นไปใช้ต่อ
  • คุณส้ม พยายามจะเก็บภาพให้เห็นด้านข้างเข้าไป แต่วางกล้องผิดกลายเป็นเห็นทุกอย่างตรงกันหมด ลองขยับไปขยับมา เห็นสิ่งหนึ่งพุ่งขึ้นมาแทน จึงลองวางแบบมุมหนอน แล้วนึกถึงเขาช่องลมที่เห็นระยะบังเลยถ่ายตามแบบเดียวกัน เป็นการเปิด Conventional mode แทนค่าเป็นเขาช่องลม พยายามอุปลักษณ์ให้เกิดข้อตกลง ใส่ความเป็นไปได้ในการคิด สถานการณ์เดียวกันไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเดียวกัน

กิจกรรมกลุ่มที่ 2

หลังเบรคเริ่มกิจกรรมใหญ่ บนโต๊ะปูด้วยกระดาษผืนใหญ่ที่มีลวดลายกราฟฟิกแอบสแตรควางทับด้วยวัตถุมากมาย อย่างแรกที่ให้ทุกคนทำคือมองเพียงลวดลายกราฟฟิกแล้วไปยืนตรงจุดที่คิดว่าน่าสนใจ หลังจากนั้นอาจารย์ติ๊กจะทำการแบ่งกลุ่มจากบริเวณที่ใกล้กัน ลวดลายบนกระดาษเป็นเมือง ถูกตัดแบ่งโซนตามกลุ่มที่อาจารย์จัดไว้ ให้แต่ละกลุ่มเลือกวัตถทุที่จะอยู่ในสังกัดเรา เลือกของที่ไกลออกไปจากบริเวณตรงหน้าได้ภายใน 5 นาทีแล้วจับฉลากธีมที่จะได้

  • โซนแรก 2070 คุณออย คุณแอล คุณแค๊ท
  • โซนสอง สวรรค์ คุณแก้ว คุณส้ม คุณน้ำอุ่น
  • โซนสาม ยูโทเปีย คุณนัท คุณเบส
  • ฉลากนโยบายที่ไม่มีใครจับได้คือ อยู่ไม่ได้

กิจกรรมย่อยที่ 1

  • สมมติว่าจารย์ติ๊กเป็นนายก ฉลากที่จับไปคือนโยบาย ผู้เรียนจะต้องจัดวางวัตถุที่เลือกมาให้เป็นทรัพยากรเพื่อให้ได้เมืองตามนโยบาย สามารถใช้ปากกาขีดเขียนเติม ภายในเวลา 10 นาที เมื่อเสร็จแล้วให้แต่ละคนถ่ายรูป 1 มุมของตัวเอง ภาพที่ถ่ายมานำเสนอออกมาจะต้องตรงกับนโยบายด้วย เท่ากับนโยบายหนึ่งจะมีทั้งหมด 2-3 ภาพตามจำนวนสมาชิกที่แต่ละกลุ่มมี
  • กลุ่มแรกธีม 2070 ยุคที่น้ำมันลดลงจนใกล้หมด จำเป็นต้องอยู่เป็นตึกสูงพื้นที่แคบลง รถเหลือล้อเดียว มีอุโมงค์ทางเดียวที่ข้ามไปดูธรรมชาติในพื้นที่ได้ หลังจากเกิด Food Crsis ทำให้ต้นไม้แห้งไม่เหลือใบและมีรั้วล้อมรอบเพื่อการอนุรักษ์
  • กลุ่มที่สองธีม สวรรค์ แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าเกี่ยวกับยุคพระศรีอารย์ ประตูเปิดข้ามโซนด้วยการขึ้นบันไดมาเจอกับสวรรค์ที่ Self-sustain มีเพชร มีพลอย มีน้ำ ทุ่งหญ้า ทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ เกิดภาวะที่มีความสุข
  • กลุ่มที่สามธีม ยูโทเปีย อิงความเป็นชนบท นำเสนอ Reverse Utopia มีวัสดุสังเคราะห์ ละทิ้งฟอร์ม ละทิ้งมาอยู่กับธรรมชาติ หากถอยกลับมาสู่ธรรมชาติจะได้หยุดคิดมากขึ้น
  • รูปที่ถ่ายในกิจกรรมนี้เป็นการนำเสนอแค่บางส่วน นำเสนออุดมคติบางส่วนมาพยายามแสดงทั้งหมด เป็นความสัมพันธ์ของบางส่วนกับส่วนที่สมบูรณ์

กิจกรรมย่อยที่ 2

นายกให้ความเห็นเพิ่มมาอีกคนละนโยบาย ต้องการรื้อโครงสร้างเดิมที่ทำไว้ ก่อนถ่ายด้วยกล้องโพราลอยด์คนละ 1 รูปเหมือนเดิม และอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากโจทย์แรก

  • 2070 ที่หนาวมาก ครั้งนี้กลุ่มเสนอว่าเพราะอากาศหนาวจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบของอาคารที่พักอาศัยจากตึกสูงเป็นแนวราบสลายเป็นตึกเล็ก ๆ ก่อกองไฟพิงไออุ่นแก้หนาว ต้นไม้ที่เดิมเหลืออยู่ต้นเดียวถูกโค่นลงเพื่อมาเป็นฟืนเพิ่ม ให้ความสำคัญกับทรัพยากรคนละแบบกับในกิจกรรมก่อนหน้า
  • สวรรค์ที่เป็นสงครามโลกครั้งที่สาม สวรรค์เปลี่ยนเป็นรั้วลวดหนาม ไม่อยากเพิ่มประชากร  ปิดเมือง และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ แต่ความต้องการยังไม่หมดอยากได้แล้วอยากได้อีก ดึงแสงจากที่อื่น แล้วส่งควันถ่านหินไปให้คนอื่นแทน โยกย้ายความหมายของของวัตถุเช่นจากบันไดเป็นรั้ว
  • ยูโทเปียที่เป็นประชาธิปไตย ถนนสายเดียวก่อนแยกเป็นหลายเส้นทาง สิ่งสำคัญในประชาธิปไตยคือการได้มีสิทธิ์ที่จะเลือก อาจเลืออยู่ร่วมกับธรรมชาติหรือเลือกเมืองหรือไม่เลือกเลย เพิ่มความหลากหลายของประเภทพื้นที่ให้เยอะขึ้นกว่าเดิม

ผลลัพธ์จากภาพถ่ายโพราลอยด์

ทั้งสามเมืองมีเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจงมาก รูปสุดท้ายให้ถ่ายด้วยมือถือสะท้อนเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง เมื่อต้องการพูดอะไรที่เจาะจงมาก ๆ คุณจะนำเสนออย่างไร

2070 ที่หนาวมาก

  • คุณแค๊ท ต้องการนำเสนอถึงการดูแลใส่ใจทุกคน มองทุกมิติทุกมุมของพื้นที่ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้มากที่สุด ปกติเรามองมุมสูงเกินไป มองลงมาให้เห็นประชาชนชัดขึ้นจึงเลือกมุมสายตา ให้ความหมายทางความคิดที่ต่างกัน กับการที่เราเลือกที่จะเสนอผ่านมุมมองไหน มากกว่าการถ่ายมุมสูงแล้วบอกถ่ายแล้วเข้าใจคน ชื่อภาพคลุกวงในต่างกับโพราลอยด์ตรงที่โฟกัสไม่ชัดถ่ายมือถือคุมได้มากกว่า
  • คุณออย มองจากข้างบนเหมือนแผนที่ให้เแต่ละบ้าน เลือกมุมนี้เพระาคิดตั้งแต่โพราลอยด์ว่าอยากถ่ายมุมสายตากับมุมบน เห็นภาพที่เชื่อมโยงเห็นโครงสร้าง ออยมองที่รายละเอียด มีความกล้าที่จะเปลี่ยนมุม
  • คุณแอล อยากถ่ายให้เห็นครบทุกชิ้นด้วยโพราลอยด์ แต่ในมือถือเติมความดรามาติกเข้าไป เห็นความขาวโพลนและความกระจุกตัวของคนกันมากขึ้น ภาพที่ออกมาสะท้อนได้ดี สื่อถึงความหนาว เฟรมเวิร์กทางคำของกลุ่มนี้ไปทางเดียวกัน แต่ทางความคิดไปคนละแบบ

สวรรค์ที่เป็นสงครามโลกครั้งที่สาม

  • คุณแก้ว โพราลอยด์ถ่ายภาพรวม อยากโฟกัสคำว่าสวรรค์เพราะหัวข้อมันขัดแย้งกันมาก แปะป้ายว่าสวรรค์แต่ไปขัดแย้งกับคนอื่น ตั้งคำถามว่ายังเป็นสวรรค์ไหม ปูนซีเมนต์ให้เห็นความหยาบ ยังไม่ได้ก่อสร้างและดูน่าจะตรงข้ามกับสวรรค์​ กระดาษเป็นแค่เปลือกห่อหุ้มปูนเพื่อแท็กว่าเป็นอะไรภาพเลยสื่อความรู้สึกชัดมาก
  • คุณน้ำอุ่น คล้ายกับแก้ว อยากเก็บภาพรวมก่อนค่อยเจาะความคอนทราสต์ มีการกั้นนู้นกั้นนี้ แบ่งแยกสวรรค์กับยูโทเปียอยู่  ฟีลลิ่งของคนที่อยู่ข้างในอาจไม่มีความสุข กรงก็เป็นสัญลักษณ์แทนการถูกขังเลยเลือกไปทางมุมนี้ ภาพตรงนี้เลยตั้งคำถามได้ดีว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ ถึงอยู่ฝั่งนี้หมด
  • คุณส้ม ถ่ายโพราลอยด์มุมที่เปลี่ยนแปลง ตอนเจาะด้วยมือถือพยายามให้เห็นคอนทราสต์ขาวกับดำ เป็นสวรรค์ที่จะก่อสงครามกับคนอื่น ภาษาภาพการแบ่งเหล่านี้สะท้อนความคิดออกมาได้แจ่มชัด

ยูโทเปียที่เป็นประชาธิปไตย

  • คุณนัด ตอนเป็นโพราลอยด์จะเก็บตรงวงเวียนให้เห็นทางเลือกแต่พอเป็นมือถืออยากให้เห็นจุดตัดเพื่อโฟกัสถึงการเลือก  เลือกมุมนี้เพราะเป็นตรงกลางของสามโซนในเมือง จุดตัดนี้อธิบายความเป็นประชาธิปไตยอย่างไร ตัวเขาแปลประชาธิปไตยเป็นการเลือก เลยอยากนำเสนอให้คนได้เลือกมากกว่าผลลัพธ์จึงเฟรมในแบบที่อยากให้ความสำคัญ
  • คุณเบส กลับกัน เห็นมุมมองของคนที่เดินเลยเลือกถ่ายมุนี้ พอเปลี่ยนเป็นมือถือถ่ายกว้างขึ้นเพื่อให้รู้ว่าเลือกแล้วจะนำไปทางไหนบ้าง

ทิ้งท้าย

ผลลัพธ์ของกิจกรรมวันนี้ทุกคนเดินหน้าไปไกลมาก ทุกคนได้เรียนรู้ Visual Literacy มีประสบการณ์ลองถูกเฟรมด้วยหลายกรอบ ถูกเฟรมด้วยคำ ด้วยข้าวของ เฟรมเวิร์กอีกหลายชั้น บางเฟรมเวิร์กต่อรองไม่ได้ ในขณะที่โจทย์ยังมีซ้อนลงไปอีก จุดเริ่มต้นในการโฟกัสมีอิทธิพลต่องานออกแบบเยอะ แต่ละเฟรมเวิร์กจะพางานไปจุดไหน เพื่อให้คุณเป็นตัดสินใจผลลัพธ์สุดท้ายได้ วิธีการทำงานไม่มีสูตรสำเร็จ การแบ่งก็ไม่ใช้การแยกเพียงอย่างเดียวเหมือนกับกระบวนการคิด

Babara Oakley เรียกหลักการเหล่านี้ว่า Focus กับ Diffuse ใช้มันอย่างเป็นธรรมชาติควบคู่กันไป ในการหาแรงบันดาลใจ หลักการเหล่านี้ไม่ใช่คุกให้เราคิดอย่างแข็งทื่อ โหมดในการโฟกัสต้องการให้คุณอยู่ในขอบเขต ตื่นรู้ คิดเพื่อที่จะหาทางไปต่อแล้วถ่ายทอดหรือเข้าใจสิ่งนั้น แต่หากทำแค่นี้จินตนาการก็จะไม่เกิดขึ้น  Diffuse เกิดในทางตรงข้ามเมื่อคุณผ่อนคลาย จิตใต้สำนึก ไม่มีขอบเขตหรือปัจจัยแต่หาความสัมพันธ์แล้วเชื่อมโยงได้ บาลานซ์ทั้งสองอย่าง สมองเราเอาใจเรามาก ทำงานให้เราอยู่ตลอดเวลา เราป้อนวัตถุดิบแก่สมองแล้วผ่อนคลายเพื่อให้สมองได้มีพื้นที่ทำงานด้วยตัวเองได้ ถึงจุดหนึ่งสมองจะกระซิบบอกเราเหมือนในตัวอย่างสัปดาห์ที่สองเรื่องอิคคิวซัง

เลือกจบด้วยหนังสือของ Cataract ของ John Berger วันหนึ่งโลกการมองต้องเปลี่ยนไปเพราะไปผ่าต้อ ภาพในหนังสือที่ถูกสื่อสารออกมาน่าสนใจมาก ตาเราเปิดปิดได้ เป็นต้อเหมือนรวมสองตามาข้างเดียว เราเปิดตาหนึ่งเปิดตาเต็ม ซึ่งซีรีส์นี้มี 3 เล่ม รวม What time is it และ Smoke นักวาดภาพประกอบเล่มนี้เก่งที่สามารถส่งพลังบางอย่างต่อแก่ผู้ดู มีมิติทางความคิด งานที่ออกมาทำงานกับผู้ดูในอีกระดับ

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG