EveryOne-O-One (2024) : Class Note #6

บทความนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้ จากห้องเรียน EveryOne-O-One วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567
บันทึกโดยคุณเกวลี วรุตม์โกเมน (EveryOne-O-One : Note Taker)

EveryONE-O-ONE week 06:
Designing Design Project 02 : พักสักครู่เพื่อชมสิ่งที่น่า “สนใจ”

Host: กนกนุช ศิลปวิศวกุล (เบล)

ชวนคุยก่อนเริ่มคลาส บรรยากาศของการแลกเปลี่ยน

ทีมผู้สอนชวนพูดคุยก่อนเริ่มคลาส ถึงความตั้งใจในการเลือกพื้นที่จัด workshop แบบไม่ใช่ห้องปิด เพราะแกนหลักของการเรียนรู้มาจากการแลกเปลี่ยนพูดคุย พื้นที่ที่ทำให้ผ่อนคลาย เป็นคาเฟ่ที่ยังมีเสียงคนรอบข้างอยู่ด้วย จะทำให้การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติกว่า

เล่า Project idea คร่าวๆเป็นน้ำจิ้ม

ก่อนเข้ากระบวนการพัฒนาโปรเจคหลักวันนี้ ชวนทุกคนเล่าอัพเดทโปรเจคภายใน 1 คนต่อ 1 นาที เป็นน้ำจิ้มสั้นๆ โดยอาจารย์เบลเปิดโครงสร้าง workshop มา recap millestone ย้อนชวนคิดถึงโจทย์ใจ 4 ใจ ที่ทุกคนได้เริ่มสำรวจความสนใจ (ณ ช่วงเวลานั้น) บางคนย้อนอดีต บางคนคิดถึงอนาคต แต่ละคนน่าจะได้ลองประยุกต์ต่อแบบเชื่อมโยงความคิดไปเรื่อยๆมาแล้ว ระหว่างทางในแต่ละสัปดาห์

  • คุณแอล ทดลองเล่นวาดหมึกจีนกับน้ำ บนกระดาษเยื่อไผ่สำหรับหมึกจีนโดยเฉพาะ และบนกระดาษสีน้ำ ทดลองแบบอิสระโดยไม่มี frame work 
  • คุณแก้ว มีสองไอเดียคือ
    1. ทำ font จากการศึกษาผึ้ง ตีความภาษาการส่ายก้นของผึ้งเพื่อบอกตำแหน่งอาหาร ทำออกมาเป็น typography เพื่อท้าทายตัวเองที่ทำแต่ภาพประกอบ
    2. ทดลอง Explore การเข้าเล่มแบบใหม่ๆของ zine เช่นการเข้าเล่มแบบ carousel book เพราะเคยไปออก art book fair แล้วรู้สึกอยากทดลองด้านนี้ต่อ
  • คุณส้ม ลองแยกส่วนหมาล่าเป็นโมบายดู ต่อยอดจากกิจกรรมเรื่อง 4  ใจ เลือก Keyword หลักเป็น ‘หมาล่า/ สีแดง / งานทำมือ/ โมบาย’ แต่เลือกหมาล่านำทางเพราะ 1 สัปดาห์กินไปแล้วสองครั้ง
  • คุณเบส จะทำเซทไพ่ The Fool Journey การเดินทางผ่านผู้คนมากมายแล้วค้นพบตัวเอง ซึ่งใครๆก็น่าจะพบเจอเช่นกัน แต่เป็น Journey ผ่านการเรียนใน EveryONE-O-ONE
  • คุณน้ำอุ่น อยากทำ Planner ทำการจัดการวางแผนเชิง system ไม่ได้สร้างสิ่งใหม่ แต่ต่อยอดจากสิ่งเก่าให้ดีขึ้น โดยย้อนไปดู planner ที่เคยใช้ในแต่ละช่วงชีวิต อยากลองทำเป็น ‘recollection’ คือการใช้และวางแผนไปพรัอมๆกัน ให้เหมาะสมกับตัวเองในปัจจุบันนี้ + หา element of surprise ที่ผสม journal + planning เข้าด้วยกัน ให้มีความ productive มากขึ้น
  • คุณแค๊ท อยากทำผ้าคลุมไหล่ ป้องกันสารที่มีใน pm2.5 ที่คลุมเป็นแฟชั่นได้ จากไอเดียตั้งต้นที่ทำในคลาส 4 ใจสุด tangible พัฒนาต่อเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากขึ้น

ทีมผู้สอนแชร์ feedback สะท้อนจากสิ่งที่ทุกคนนำเสนอสั้นๆ

คุณแอล

  • คุณแอลเริ่มจากการลงมือทำ บางคนอาจจะเริ่มต้นจาก ‘ความชอบ’ ก่อน passion แล้วค่อยหา framework เป็นลำดับถัดมา 
  • ‘เป้าหมาย’ สามารถซอยออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ ก็ได้ เพราะยังไงก้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง-แก้ไขปัญหาไประหว่างทาง เช่น ถ้าจะต้องเดินทางไกล อาจจะเริ่มตั้งเป้าหมายหรือ design แค่การเดินทางไปสุวรรณภูมิให้สบายที่สุดก่อน แล้วค่อย design ขั้นตอนที่เหลือตามมา

คุณแก้ว

  • คุณแก้วอยากพาตัวเองไปสู่จุดใหม่ เลยต้องวางแผน ซึ่งในการมาเรียนคอร์สนี้ก็มีกรอบที่ทำให้แต่ละคนต้องขยับตัวตามอยู่แล้ว ในคอร์สนี้อาจจะเป็นการลองทำเพื่อปูเส้นทาง โดยไม่ต้องทำให้สำเร็จแบบยิ่งใหญ่ แต่เป็น small success ก็ได้ เพราะคอร์สนี้ต้องการให้ทุกคนได้เจอถนนที่เดินต่อไปได้ มากกว่าไปถึงเป้าหมาย หรืออาจจะเจอถนนหลายๆเส้นก็ได้ ไปลองต่อเอง
  • อย่างอาจารย์เองพออายุ 50 ขึ้น ก็ยังพบว่ายังมีอะไรให้เริ่มใหม่ได้เรื่อยๆ ทำให้รู้สึกสงสัยว่าการเกษียณคืออะไรอยู่เลย การสร้างจิตวิญญาณให้ยังขยับต่อไปได้ก็สำคัญ การที่เรายังค้นพบว่ามีอะไรให้แก้ไข มันดีกว่า
  • จงดีใจที่เราได้ค้นพบสิ่งที่เราอยากจะพัฒนาแก้ไขอะไรให้ดีขึ้น มันปูทางและเปิดทางให้กับเราได้เติบโตในอนาคต

คุณส้ม

  • คุณส้มเป็นตัวอย่างของความพยายามหาความสัมพันธ์ของทั้ง 3 อย่างที่เป็นจุดตั้งต้น แค่สีแดงอย่างเดียวก็มีหลากเฉดมาก แต่ที่ว้าวคือการเอามาผสมกับโมบายได้ ร้อยเรียงออกมาเป็นบริบทได้ ชวนลองเอาไปเขียนเป็น thinking map ดู 
  • ชวนคิดเรื่องการไล่ระดับความสำคัญ ของที่จัดให้อยู่บนสุดของโมบายคือสิ่งที่ชอบสุดด้วยหรือเปล่า?

คุณเบส

  • คุณเบส เปลี่ยนวิธีเดินเรื่อง น่าสนใจที่เลือก the fool เพราะคนต้องนึกไม่ออกแน่ๆว่าจะเจออะไร แถมยังเพิ่มประสบการณ์ตัวเองในคอร์สนี้เข้าไปอีก เราอาจจะเป็นอะไรในไพ่ก็ได้ พอยกมาเป็น 1 ใบ ก็จะคล้ายๆการเล่าเรื่องในวรรณกรรม เช่น สามก๊กที่เขียนด้วย framework ต่างกัน
  • การเจาะจงตัวละครเดียวก็เปิดมิติที่น่าสนใจเพิ่ม เช่น หม่อมคึกฤกษ์ที่ชวนมองตัวละครที่ถูกจดจำในฐานะตัวร้ายตัวหนึ่งในอีกมุม สำรวจแรงจูงใจว่าทำไมเขาดูร้าย? แล้วเขาร้ายจริงไหม?
  • เอาเรื่องของผู้ใช้งานมาออกแบบ เริ่มจากประเมิณสิ่งที่เคยมี (ความ randomness)

คุณแค๊ท

  • คุณแค๊ท ทำ prototype ขึ้นมาเลย จากประสบการณ์จริง ชวนให้เกิดการแลกเปลี่ยนในแง่ product แบบใช้งานจริง ซึ่งแนวคิดนี้ทำให้มีครบทุกแง่มุมของการออกแบบ เป็นประโยชน์กับทุกคน
  • อาจารย์ติ๊กชวนดู Series ใน Japanese Film Festival Online เรื่อง Rikuoh เกี่ยวกับการปรับตัวของโรงงานรองเท้าทาบิ ว่าจะปรับตัว แต่เก็บจิตวิญญาณของตัวเองให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไปยังไง

อาจารย์ติ๊กทิ้งท้ายว่า ผู้เข้าร่วมเหมือนสร้างอาหารที่หลากหลายมาก แถมแต่ละจานก็น่าลองไปหมด ก่อนส่งต่อให้อาจารย์เบลนำกระบวนการต่อในกิจกรรมหลักของครั้งนี้ 

นำเสนอ Project idea แบบอิสระผ่านกระดาษ A3

[กิจกรรมที่ 1] อาจารย์เบลให้ทำอะไรยังไงก็ได้เป็น freestyle presentation ด้วยกระดาษ A3 ภายในเวลา 3 นาที
(ในวงเล็บเป็น Reflection Feedback จากทีม PS+D)

  • คุณแคท แบ่งกระดาษเป็น 4 ช่อง Personal-Relationship-Social-Happy ติด post it สีเล็กเพื่อบ่งบอกโทนและวาดสัญลักษณ์ประกอบ คำ Keyword ทั้ง 4 เรียบง่าย โดยเริ่มจาก  ‘Personal’ เพราะเป็นคนที่เชื่อว่า ต้องเติมเต็มตัวเองให้เป็นสุขก่อน ค่อยไปให้คนอื่น ถึงช่วยคนอื่นได้
    • (คุณแคทเป็นคนเข้าทำแบบฉับพลัน analyze บางอย่าง แล้วจัดกระบวนการลงไป)
  • คุณน้ำอุ่น พับเป็น Folder ที่มี mark highlight chapter พับแล้วปล่อยให้มันเกิดขึ้น ค่อยมาจัดหมวดหมู่ประเภททีหลัง
    • (สะท้อนความพยายามจัดระเบียบของคุณน้ำอุ่นได้ดี)
  • คุณเบส ทดลองกับการวิ่งของน้ำบนรอยย่นของกระดาษ ลองใส่กาแฟบนชา ซึ่ง lead ด้วยคำถามที่อยากรู้ต่อไปเรื่อยๆ
    • (แม้การกระทำจะเหมือนเป็นแนว emotional แต่เวลาอธิบายกระบวนการ คุณเบสมีความคิดเป็นเชิงวิทยาศาสตร์สูง นำด้วยการตั้งคำถามตลอด) 
  • คุณส้ม เริ่มจากการพับเพื่อสร้างขอบเขตก่อน เพราะรู้สึกกระดาษมันกว้างมากเลย แล้วค่อยๆลองเติมสีลงไปในขอบเขตนั้น
    • (ในภาษา jazz คือการด้นสด สร้างบางอย่างขึ้นมาก่อน แล้วค่อยต่อยอดไป เป็นตรรกะจากการต่อยอด เล่นโน๊ตต่อโน๊ต จุดต่อจุด) 
  • คุณแก้ว พับเป็นผีเสื้อ ให้กระดาษมีชีวิตขึ้นมา
    • (มุมมองการทำสิ่งไม่มีชีวิต ให้เป็นสิ่งมีชีวิต ก็เป็นอีกกระบวนการนึงที่น่าสนใจ ทั้งหมดที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนได้แชร์มา ชวนมองให้เป็นไอเดียแชร์กลาง ลองเอากระบวนการที่แชร์ไปใช้ต่อยอดได้ทุกคน)
  • คุณแอล ตัดกระดาษเป็นวงไล่เข้ามาถึงตรงกลาง ดึงออกมาเป็นยวงได้ คุณแอลแชร์ว่าพอตัดแล้วไม่อยากหยุดตัดเลย และเส้นทางที่เป็นวงยาวต่อกันนี้ มันต้องไปอีกยาวไกลตามที่ทีมผู้สอนบอกแหละ และกว่าจะคลี่คลายก็ยุ่งเหยิงมาก แต่พอจบคอร์สคุณแอลก็เชื่อว่ามันจะเข้าที่เข้าทางเอง
    • (ความ flow, ความไหลลื่น, ความคาดเดาไม่ได้ ชวนลองวิเคราะห์ดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทาง อาจจะลองหยิบยืมธรรมชาติหรือ frame work ของคนอื่นมาลองใช้ ลองคิดดูต่อ)

อาจารย์เบลสรุปกิจกรรมแรกว่าทำให้เห็นธรรมชาติของการจัดการที่แต่ละคนมี ทุกคนได้ความว่างขนาด A3 มาเท่าๆกัน emptiness is limitless possibilities ที่ชวนให้คุณ delearn ก่อน ชวนถอยให้องศากว้างขึ้นถ้าเจอทางตัน อาจารย์ต้น(หรืออาจารย์นัท?) เสริมว่าบางทีเข้ามาแล้วไม่รู้จะออกทางไหน ก้ออกไปทางที่เข้ามาแหละ แล้วเริ่มต้นใหม่ก็ได้

จากกิจกรรมข้างต้น เราจะเห็น pattern ของแต่ละคนที่ปะทะกับความว่าง ขุดเอาสัญชาตญาณออกมาจัดการ แต่อยากให้ไม่จำกัดตัวเองกับความคิดว่า “เราเป็นคนแบบนี้ เลยทำแบบนี้” เพราะแน่นอนว่าเราต่างก็ขึ้นงานด้วยความเป็นตัวเอง ถ้ามีสถาณการณ์บีบคั้น เราก้จัดการกับมันแบบเป็นตัวเอง แต่ทุกคนสามารถลองใช้กระบวนคิดแบบอื่นได้ เพื่อหาทางออกใหม่ๆให้กับตัวเอง

จับคู่ Project เสริม support

[กิจกรรมที่ 2] จับคู่ โดยหาคู่สนับสนุนในสิ่งที่ตัวเองไม่มี หลังจากทีมผู้สอนวิเคราะห์กระบวนคิดของแต่ละคนไปแล้ว ก็อยากชวนทุกคนลองเลือกคู่สำหรับแลกเปลี่ยนในลำดับถัดไป โดยอธิบายด้วยว่าทำไมถึงเลือกคนๆนั้น ด้วยคำอธิบายเชิงกระบวนการคิด

  • ชวนเลือก’สิ่งที่ตัวเองไม่มี’ เวลาเราเลือกคนมาร่วมทีม บางทีก็ไม่จำเป็นต้องเลือกคนที่มีธรรมชาติเหมือนเรา อาจจะลองดูธรรมชาติที่แตกต่างว่าจะมาช่วยเหลือส่งเสริมกันได้ยังไง การที่คนในทีมมีในสิ่งที่เราไม่มี มันจะเกิด value ขึ้นมากเลย
  • ถึงแม้จะไม่มีใครจับคู่ได้สมหวัง แต่ทุกคนได้แก่น collaboration และไอเดียการร่วมมืออะไรกับคนอื่น ซึ่งอาจจะมาในรูปของทักษะ หรือกระบวนการคิด เช่นถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้ พี่คนนี้จะทำยังไงนะ จะใช้กรอบคิดแบบไหนนะ
  • ผู้เข้าร่วมแชร์ว่าจะเลือกใครเพราะเหตุผลอะไร แล้วทีมอาจารย์ก็สรุปการจัดกลุ่มให้ดังนี้ คุณแอล-คุณน้ำอุ่น / คุณแคท-คุณแก้ว / คุณเบส-คุณส้ม โดยมีการจับคู่ mentor ไปให้กับทุกคู่เพื่อให้ฟังและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
  • เล่า project แบบเต็มๆให้คู่ฟัง โดยสามารถเปิด slide presentation ที่เตรียมมาเพื่อพูดคุยได้แล้วในขั้นตอนนี้

สะท้อนคิด หลังคุยกับ mentor

ชวนทุกคนแชร์หลังจากคุยกับ mentor แล้ว มีการขยับทางความคิด หรือมีไอเดียจะไปต่อยังไงบ้าง?

คุณเบส

คุณเบส The fool’s journey อยากทำชุดไพ่ในเวลาที่จำกัด ต้องตัดจาก 78 เหลือบางส่วน ซึ่ง The fool คือไพ่หมายเลข 0 และ 22 ใบแรกคือการเดินทางของ the fool แม้ไพ่จะถูกวาดต่างแบบกันแต่จะมี share elements เช่น white dog ที่ช่วยไม่ให้เดินตกเหว, สัมภาระที่ไร้ค่า, การเดินทางแบบไร้ความกังวล / เดินทางผ่านมิติต่างๆของชีวิต เลือกมาทำ 9 ใบหลักที่ใช้สำรวจตัวเองและเป็น pattern ของชีวิตมนุษย์ : ฟังเสียงในจิตใจ เจอพ่อบทแม่แบบ law and order/nature (ไพ่แต่ละใบคือบริบทหรือมิติ) the strength = แรงผลักดันภายใน / Journey ผ่านการประสบการณ์ใน EveryOne-O-One เพื่อหา variation ของ the fool / เลือกจะ explore กับเทคนิคการพิมพ์เพื่อให้เกิดการรับรู้ผ่านวัสดุด้วย เช่นการเคลือบ หรือการมองต่างมุมเห็นคนละภาพไหม เพื่อหา art direction ของสำรับ

  • feedback: นึกถึงยอดเขาของความโง่เขา sense ของจุดที่โง่ที่สุดคือที่สูงที่สุด เหมือนหนังกำลังภายในที่คล้ายๆกัน ตัวละครหลักมักจะต้อวตกเหวก่อน แล้วจะค่อยไปเรียนรู้ใดๆใหม่ ค่อยขึ้นมาสู่การเติบโตหลัง relearn / Hero journey / เตรียมใจไว้เลยว่าวันนึงคุณต้องร่วง มันเป็นสัจธรรมของชีวิต ซึ่งถ้าเล่าผ่านไพ่ได้ด้วยก็น่าจะดี / หุบเขานี้ถ้ามันลงใต้น้ำด้วยล่ะ มันอาจจะยิ่งลึกยิ่งสูงก็ได้

คุณแคท

  • คุณแคท ผ้าคลุมไหล่เคลือบสารกันฝุ่น ตอนนี้ innovation จะยังไม่มีเชิง emotional พอล๊อคเป็นผ้าคลุมไหล่อาจจะปิดโอกาสบางอย่างด้วย ลองหา pain point จริงๆ หารากแก้วของปัญหาจริงๆก่อนแล้วค่อยออกแบบผลลัพธ์ เช่นพอไป research อาจจะเจอว่ามีคนแบบน้องแก้วที่ไม่ชอบผ้าคลุมไหล่ ถ้าผ้าเป็นผ้าคลุมหัวด้วยได้มั้ยไรงี้
    • feedback: คุณแคทเหมือนเริ่มที่ยอดเขาแรกของหุบเขาแห่งความโง่เขลา พอโดนน้องแก้วทักถามไปมา ก็เลยรีบกระโดดลงเหวเองเลย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่ทำกันง่ายๆ แต่พอคุณแคทเปิดใจปลดชูชีพลงมา ก็เจอทางเลือกใหม่เลยอีกตั้งสามทาง แถมยังค้นพบยอดเขาใหม่ๆ กลายเป็นคนที่มีทางเลือกรออยู่อีกเยอะเลย
    • เราเลือกได้ ไม่ใช่ต้องจำนนแบบโดนผลักตกเหวแห่งความโง่เขลา เราค่อยๆลงแบบดีๆก็ได้ ปลดชูชีพเองไม่ต้องร่วงลงมา ยิ่งในแง่ของการพัฒนาโปรเจค คุณร่อนชูชีพลงได้ตลอดแหละ
    • ปรัชญา คือ ความไม่รู้ 
    • เมื่อคิดแบบกระจัดกระจาย ลองทำแผนที่ทางความคิดเพื่อให้เรารับมือกับมันไหว ลองดู proposition diagrams หาคุณค่าของสิ่งที่เราทำ โดยเริ่มจากผู้คนว่ามี pain อะไร สิ่งที่เราทำ gain อะไร ถ้ามัน align กัน มันก็จะเปิดความพึงใจได้

คุณส้ม

  • คุณส้ม โมบายหมาล่า จากวันที่โยนไอเดียกิจกรรมใจ ก็เอากลับไปเติมเพิ่มที่บ้าน แล้ววิเคราะห์ต่อว่าอะไรที่อยุ่ในชีวิตตัวเองตลอด ออกมาเป็น keywords ที่รู้สึกเชื่อมโยงมาก คือ หมาล่า บวกกับได้ไปเจอเซทเครื่องปรุงพะโล้ในร้านขายของชำ เลยอยากลองทำเซทเครื่องปรุงของหมาล่าบ้าง แต่ไม่ได้อยากได้ในรูปแบบเครื่องปรุงพะโล้ เลยลองหาทางเชื่อมกับโมบายด้วย เริ่มจากหยิบเอาวัตถุดิบแห้งมาตั้งต้นก่อน เช่น ฟองเต้าหู้ เส้นหนึบ กระเทียม พริก พอลองทำโมบายก็ลองวางตามขนาด จากเล็ก-กลาง-ใหญ่ พอทำโมบายจากอาหารก็ทำให้นึกถึงแก็กขายหัวเราะในเชิง visual แต่มันจะดาร์กตรงคนมองอาหารที่ไม่มีโอกาสเข้าถึง / ได้ feedback จาก mentor มาว่าถ้าเป็นเนื้อสัตว์ มันจะอยู่นานไม่ได้ อาจจะลองใช้ แสร้งว่าเป็นสามชั้น ไหม? การ preserved เป็นไงบ้าง ถ้าแยกวัตถุดิบมากกว่านี้จะได้มั้ย และเรื่องของเสียงกุ๊งกิ๊งที่ชอบในโมบายปกติยังไม่มี จะเติมมิตินี้ยังไงถ้าตอนแรกเป็นสิ่งที่ชอบ / ถอดรื้อโครงสร้างเพื่อเล่าเรื่องใหม่ คล้ายๆในแสร้งว่าหมาล่า / ถ้าแทนการเสียบไม้เป็นการจุ่มเชือก ตามความเร็วในการสุกของวัตถุดิบนั้นๆล่ะ?
    • feedback: เริ่มหาโฟกัสเพื่อจัดการกับ ingredients แบบ whole -> parts จะแยกขนาดไหน? 
    • composition ของโมบาย = sense of balance, kinetic, sound replacement เช่น อาจจะใช้ความแวววาวแทนเสียงกรุ๊งกริ๊งของโมบายปกติ หรือลองตั้งคำถามว่าจะนำเสนอการรับรู้ถึงความเผ็ดชาแบบหมายล่า จะทำอย่างไรจัดวางยังไงให้รู้สึกถึงหมาล่า หากไม่ใช่แนวตั้ง linear แบบนี้ 
    • การรวมสิ่งที่ต่างกันมาไว้ด้วยกัน ทำให้การทำโมบาย make sense จนเกิดความกลมกล่อม harmony หรือความรู้สึกใดๆที่อยากนำเสนอต่อหมาล่า ที่ตัวเองชอบ 
    • ถอยกลับไปที่ แยกเยอะแยะ ไม่ต้องยึดติดกับความเป็นของจริง ถอดรื้อ เช่นอาจจะไม่ต้องใช้พริกจริงไหม เลือกว่าจะ literal หรือ metaphor หรือ symbol อุปโลคไปเลยหรือยังไง แต่ต้องถามตัวเองตลอดว่าทำไมเลือกใช้วิธีการนั้นๆ ในการนำเสนอสิ่งนั้น หากเลือกการใช้แทนเพราะอะไรทำไม หากเป็นเม็ดพริกเฉยๆ มันก็เป็น part of พริก พูดถึง semiotic เลย
    • การห้อยในวัฒนธรรมถนอมอาหาร preservation ก็น่าสนใจไปศึกษาดู

คุณน้ำอุ่น

  • คุณน้ำอุ่น Planner ที่เน้นความ (Re)collection โดยย้อนกลับไปดู planner ตอนเรียน อยากให้มันช่วยเสริมความ productivity ได้จริง อยากให้มันมีความสนุกและไม่มี limit กับตัวเองเท่าไหร่ feedback: จาก mentor คือ บันทึก+planning ที่ต้องมี flexibility ไปจนถึงเชิงการเข้าเล่มที่เปิดโอกาสให้ซ่อนบางส่วนได้ถ้าจะมีคนมาเปิดอ่านได้ ทุก method ก็คือ framework ที่มีความหลากหลาย มันไม่ใช่แค่ artefact แต่เป็นวิธีการไปเลย
    • feedback: เป้าหมายมีแล้วแต่ภายใต้นั้น outcome น่าจะมีคุณสมบัติอะไรบ้าง งานออกแบบชุดนี้จะ take care อดีตปัจจุบันอนาคตยังไงบ้าง เราจะปลดความกังวลหยุมหยิมออกไปยังไง ลองตั้งคำถามต่อโครงสร้างที่ช่วยให้มันร่วมกันของบันทึกอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ที่มีความเป็น dynamic ในแง่ของเวลายังไงได้บ้าง สิ่งที่จดในปัจจุบัน มันจะกลายเป็นอดีตในวันถัดมา แต่เป็นไปได้ไหมที่มันจะเปลี่ยนแปลงได้ ต้องลองหาความน้อยในเชิง framework มันท้าทายมาก ไม่ง่าย แค่ได้ลอง prototype ให้ตัวเองลองใช้ได้ก่อนมันก็ (Re-ing)Collection ปรับเกิดขึ้นตลอดเวลา, productivity tool บางทีคนหลงไปอยู่ใน template แต่ควรโฟกัสที่ method เช่นลองดู getting things done (GTD) ซึ่งให้ความรุ้สึกถึง structure สถาปัตยกรรม หรือ CODE ซึ่งไม่ได้แบ่งตาม timeline แต่เป็นการจัดเก็บที่เป็นประโยชน์ที่สุด
    • second brain – second self ให้หนังสือกระทำกับเราด้วยคำถามที่เราเคยเขียนไว้แล้ว 
    • GTD เป็น guideline framework ซึ่งสามารถปรับประยุกต์จนเจอวิธีของตัวเอง
    •  ตัวอย่างจาก Antalis ตัวอย่างกระดาษที่ออกแบบให้กราฟฟิคดีไซนเนอร์ เอาไปใช้งานได้จริงเพื่อให้รู้จัก
      กับกระดาษมากขึ้น จดตามอารณ์ หรือการอนุญาติทิ้งและเลือกเก็บ เป็น organizer เพื่อเสนอคุณลักษณะกระดาษ
    • อาจจะไม่ใช่แค่สมุด Planner เล่มเดียวรองรับทุกอย่าง แต่อาจจะเป็นการใช้งานต่างแบบต่างพื้นที่?

คุณแอล

  • คุณแอล ทดลองความสัมพันธ์ระหว่างหมึกกับกระดาษ แต่ทดลองแล้วรู้สึกสูญเสียสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับภาพวาดหมึก เหมือนกลายเป็นสีน้ำ อาจจะเพราะเป็นการวาดเชิง figurative เกินไปเลยเป็นกรอบ feedback: ลองเติมการเปรียบเทียบเชิง metaphor ผ่านการสร้างภาพดู ลองบันทึก process ระหว่างทำก่อนจะแห้งซึ่งมีภาพที่แตกต่างจากหมึกตอนแห้ง ชอบ cycle ของผีเสื้ออยู่แล้ว
    • feedback: สีที่สัมพันธ์กับ phrase ของการเติบโต ในยุคนึงสีเคยทำจากแร่ธาตุซึ่งมันส่งผลทางจิตใจกับมนุษย์
    • หากลองตั้งสมมติฐานเพื่อให้เกิดการเดินทาง อจ.สันติอาจจะสร้างคำถามตั้วต้นว่า จะใช้น้ำกับหมึก ที่ไหน อย่างไร แบบไหน เพื่อให้เกิดความเปล่งประกายขึ้นมา? พอเป็นคำถามแบบนี้ จะเกิดคำถามตอนทดลอง ซึ่งโฟกัสกับการสังเกตว่า การทำแบบนี้แล้วได้แบบนี้ จะเอาไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง เล่าอะไรได้อีกบ้าง เรื่องที่เปล่งประกายขึ้นมา มองผลการทดลองแบบเป็นกลางก่อน 
    • แอลอาจจะสนใจกระบวนการ metamorphosis จากผีเสื้อก็ได้ ซึ่งสะท้อนตัวตนของแอลที่ค่อยๆเติบโตไปสู่อีก state / becoming / หนอนกินใบ เพื่อให้เติบโต สารอาหารกับสิ่งที่กินอาจจะไม่ได้ตรงกัน เรากินข้าวก้เพื่อเอาน้ำตาล
    • ต้นทางกับปลายทางคือคนละสิ่งได้ด้วย
    • อาจารย์เบลเคยบันทึกเรื่อง น้ำตา ซึ่งพูดเรื่องการเยียวยาตัวเองด้วยการร้องไห้ หรืออีกวิดีโอที่ใช้หยดน้ำเล่าถึงการชำระจิตใจ
    • Design คือการทำ A ให้เป็น B

คุณแก้ว

  • คุณแก้ว ขยายการตีความ binding ให้มากกว่าแค่การเย็บเล่ม การ binding จัดเรียงคำหรือหมวดหมู่ ซึ่งอาจจะคล้ายกับการจัดกลุ่มของผึ้งด้วย เปลี่ยนคำว่า binding ให้มารวมกับ typography design เอาสองเรื่องมารวมกันในเชิง concept : การร้อยเรียง
    • feedback ถอยไปที่รากของความเข้าใจ แล้ว redefine นิยามใหม่ ถ้าเริ่มจากสิ่งที่คนเคยนิยามไว้แล้ว ผลลัพธ์มันก้อาจจะซ้ำเดิมจนไม่เห็นเส้นทางใหม่ การถอยกลับไปที่จุดเริ่มต้น มันก็อาจจะเกิดความกว้างที่ชวนเราไปควบกับเรื่องอื่นได้ binding ในอีกหลากร้อยแบบอย่าง 
    • การควบรวมแบบ สนธิ(เชื่อม) ที่ไม่ใช่สมาท(ชน)
    • พื้นฐานแรกเริ่มอาจจะแค่เอา A ชน B ซึ่งจะต่างจากการสมานจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเรารู้สึกว่ามันสมานกันแล้วเกิดมาคู่กันเลยนี่ มันจะเขย่าเราเพราะความ unique นั้น ถ้ามันมีพลังงานกระเพื่อมในตัวเราแปลว่าเรามาถูกทางละ
    • ซึ่งผึ้งอาจจะเป็นการบินแบบนึง แต่มันก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะขยายต่อยอด เช่นอาจจะทำ typography set จากการสำรวจการบินของยุง นกนางแอ่น แมลงวัน 
    • Bee ‘Being’ ผึ้งเป็นผู้สนธิด้วย > Bee movie ผึ้งแปรอักษรเป็นทางลงให้เครื่องบิน / ต่อยอด ตัวหนังสือเขียนต่อเป็นคำเขียนยาวเป็นประโยค / การเชื่อมร้อยต่อกัน การเปิดความเป็นไปได้ในการดำเนินเรื่องเชิง sequence เปิดแบบ accordian เปิดซ้ายเปิดขวา เปิดบนล่าง ปิดจบทีละโซน

สรุปปิดท้ายกิจกรรม

  • ลองเริ่มสร้างงานจากการตั้งคำถามจาก pain ของผู้คนและบริบทล่ะ ถ้าเราวาดเพื่อใครสักคน ไม่ใช่แค่เพื่อเรา มันจะเปิดอีกมิติเลยก็ได้ เช่น ดูหนังสักเรื่อง มันเข้าถึงคนดู มันทำงานกับเรา value proposition ไม่แปลกถ้างานบางชิ้นทำไมถึงมีคนชอบเยอะ ถ้านั่นคือเป้าหมายเค้า ในการ compromise กับตัวเอง โดยไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขทาง marketing มันก็เป็นงานที่ดีได้ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นงาน
  • เมื่อโจทย์เปลี่ยน งานก็เปลี่ยนแน่นอน
  • อาจารย์ติ๊กนึกถึงงานของลูลู่ เลยชวนอาจารย์เบลแชร์ ศิลปินที่ทำงานแลกที่พักทั่วโลกที่ได้รับการสนับสนุนจาก crowdfunding สร้างความร่วมมือและพูดคุยกับคนในชุมชน ทำเส้นร่างไว้แล้วให้คนมาลงสีร่วมกัน คุยกับคนในชุมชนก่อนว่าอะไรวาดได้-อะไรไม่ควรวาด อาจเชื่อมโยงในแง่การปล่อยในบริบทของพื้นที่พาไปแต่มี framework ในการร่วมงานกับพื้นที่ที่ชัดเจน

พักชมสิ่งที่น่าสนใจอีกสักนิด…

Next step :

Intangible to tangible
Invisible to visible

[กิจกรรมที่ 3] เขียน visual map วาด framework ของตัวเองออกมาเป็น Diagram
ชวนพับเพื่อ compose ทางความคิดของแต่ละคน explore ทางความคิด จัดลำดับเล่าเรื่องด้วยกระดาษ A3 ว่าจะเล่าเรื่องอะไรได้บ้าง เห็นความสัมพันธ์แบบใดบ้าง เพื่อให้เห็น design way ของตัวเอง หาจุดยืนโดยการพับ zine ของ project ตัวเอง เพราะการพับมัน

เป็นการเปิดทีละหน้า เพื่อเล่า sequence ในเชิงโครงสร้าง ยังไม่ต้องเขียนอะไรเลยแค่เล่นกับการพับเท่านั้น

  • คุณแค๊ท พับเป็นรูปทรงผ้าพันคอแบบเรียบง่าย เป็นสามเหลี่ยมใหญ่ๆ 2 ชิ้น ซ้อนกันแบบเหลื่อม อิงจากความชอบพับผ้าพันคอทรงนี้ของตัวเอง
  • คุณแอล พับเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ที่เป็นประตูเปิดไปเรื่อยๆ 2 หน้าพร้อมกันตลอด เพราะนึกถึงการหยดหมึก เลยพับให้ได้เล็กที่สุด เหมือนงานตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงตัด preconception ออกไปด้วย เปรียบการเปิดประตูเหมือนหยดหมึก เปิดไปแล้วจะเป็นอะไรก็ได้ ให้ความรู้สึกของการกระจายหมึกออกจากศูนย์กลางด้วย
  • คุณน้ำอุ่น พับเป็นสามเหลี่ยมที่ไม่สมมาตร ด้วยไอเดียความไม่ linear ของ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เป็นสามเหลี่ยมเพราะมี 3 มิติ เป็น 3 panel เพื่อให้เห็นทั้ง 3 มิติพร้อมกัน dynamic ของการรับรู้แบบครั้งเดียวเห็นทั้ง 3 ช่วงเวลา
  • คุณส้ม พับด้านกว้างซ้อนกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 panel ที่มีทั้งหน้าและหลัง เพื่อจัดลำดับของการคิด ที่เริ่มจาก 4 ใจ-คัดเลือก -จัดลำดับ
  • คุณเบส พับและผสมการฉีกเป็นส่วนย่อยๆ ด้วยไอเดียการสำรวขของ The fool โดยเลือกใช้มือฉีกมากกว่าใช้กรรไกรตัดเพราะการฉีกมีอิสระมากกว่า ถ้าจะใช้กรรไกร ก็จะใช้ทั้งหมดเลย แต่นี่เลือกใช้มือก็ใช้มือทั้งหมด เหมือนสร้างเงื่อนไขให้กับตัวเอง
  • คุณแก้ว พับให้อ่านเดี่ยวๆก็ได้ อ่านแยกภาพรวมก็ได้ เล่นเรื่อง spacing พยายามจะผสมทั้งสองเรื่อง (Typography + Binding) ที่ตัวอักษรอยู่ชิดกันจะกลายเป็นคำ แต่อยู่เดี่ยวๆก็เป็นตัวอักษร ซึ่ง relate กับ ธรรมชาติของผึ้งที่จะส่ายก้นบอกระยะ ใกล้-ไกล ด้วย เหมือนเป็นการสร้างภาษาของผึ้ง เป็น layer ใกล้-ไกล

อาจารย์ร่วมกันแชร์ Reflection และสรุป

  • วิธีการพับกระดาษเหล่านี้น่าสนใจมากตรงที่ พอพับเยอะมันเหมือนจะมีเส้นเยอะ พอมี section น้อยก็เหมือนจะหยอดข้อมูลได้เยอะ ในขนะที่พอพับน้อยก็เหมือนจะเน้นภาพรวมที่ใหญ่มากกว่า ซึ่งมันล้วนอยู่กับความต้องการของแต่ละคนว่าอยากจะเล่าแบบไหนจริงๆ
  • ทีมผู้สอนชวนมองว่าการพับของคุณแคทให้ความคิดอะไรกับเรา เช่น มันอาจจะสะท้อนวิธีคิดที่ใช้ในการทำงาน ภูเขาที่เหมือนไอเดียที่ซ้อนอยู่ข้างหน้าและข้างหลัง แม้จะเริ่มทำด้วยสัญชาตญาณ เช่นเริ่มที่ความสวย/ความคุ้นเคย แต่เราก็สามารถอ่านมันได้ว่าร่องรอยเหล่านี้มันบอกอะไรเราบ้าง เริ่มต้นด้วยตัวเอง ลองหยุด-ปรับ Focus ลองคิดว่า form มันสะท้อนอะไรเราบ้าง มันอาจจะเป็นทางเลือกของคุณ จากนอกมองข้างใน จากหน้ามองข้างหลัง หรืออาจจะสลับกันเป็นหน้า/หลังก็ได้ มันเหมือนเชื่อมโยงกับหุบเขาแห่งความโง่เขลา ที่เราคุยกันวันนี้ด้วย แต่เป้าหมายเดียวคือการขึ้นด้านบน 
  • สิ่งเหล่านี้จะเชื่อมกับกิจกรรมต่อไปตรงที่ การ Implementation มันอาจจะไม่ใช่จุดสุดท้าย แต่มันช่วยบอกเราด้วยว่าตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหน จากที่ได้ฟังทุกคนมา หลายคนบอกด้วยว่าตอนนี้อยู่ส่วนไหนแล้ว และจะเดินไปยังไงต่อ จะทำอะไรต่อ 
  • เช่น คุณแค๊ท เริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบ แล้วไปเชื่อมกับของกลุ่มเป้าหมาย
  • คุณส้ม เว้นที่ว่างไว้สำหรับไอเดียที่จะเกิดใหม่ 
  • คุณเบส ใช้ concept ของการเดินทางที่ไปได้หลากหลายทาง แต่ละจุดย่อยจะไปยังไงได้บ้าง ใช้การฉีกเปิดสู่ unknown route
  • คุณแอล ก็เห็นชัดมากที่เป็น metaphor ของประตูเปิด ซึ่งไม่ใช่แค่หมึก แต่เป็นตัวคุณแอลเองด้วย

Prepare for next week :

[กิจกรรมสุดท้าย] พัฒนาการพับนี้เพื่อบอกเล่าโปรเจคในพื้นที่ที่ทำ เน้นลำดับการเล่าเรื่อง จากการเปิดอ่านตามที่อธิบายไปด้วย

เมื่อก้อนที่ทุกคนทำนี้บอกเล่าเกี่ยวกับงานของเราแล้ว ถ้าต้องเล่าต่อให้กับคนนอกฟัง จะพัฒนาต่ออย่างไร ให้เล่าเหมือนทำ presentation slide ด้วยการพับ+สามารถเขียนได้ คำนึงเรื่อง sequence ด้วยก็ได้ หรือการใช้พื้นที่ทั้งหน้า-หลังของกระดาษ คิดง่ายๆว่าถ้าเจอเพื่อนคนนึงถามว่าจะทำโปรเจคอะไร เราก้สามารถหยิบกระดาษขึ้นมาพับแล้วเล่าให้เขาฟังได้  

  • คุณแอล จะลองย้อนกลับไปสังเกตธรรมชาติของหมึก ขยายขึ้น เห็นลึกขึ้นในมิติ
  • คุณน้ำอุ่น จะลอง Re หลายๆรอบในฐานะ Verb โดยอีกด้านก็คือมีมิติ past present future ในหน้าเดียว
  • ส้ม ทำผังที่เผื่อพื้นที่ให้กับการ challenge ใหม่ๆ
  • เบส เขียนแค่หัวกับท้ายไว้ ตรงกลางปล่อยให้อิสระ เล่าแบบ narrative 
  • แก้ว ทำให้การพับแคบลงอีก ให้ชัดขึ้นๆ ถึงมิติของการ binding typography ใกล้-ไกล
  • พี่แค๊ท เพิ่มการเขียนตัวหนังสือลงบนภูเขา มีทั้ง function และ design แต่ละแท่งชื่อสื่อถึงความหมายและ brand positioning ที่ต้องการเทียบเคียงกับแบรนด์ใหญ่ๆแบบ Dior

ตอนนี้ทุกคนได้ prototype ไปพัฒนาต่อ ให้ความคิดออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้ จบวันด้วย Lecture เรื่อง Diagram ทางความคิด Conscious – preconscious ที่อิงจาก Anatomy of Mind from the Design Concept by Allen Hurburt

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG