Round table: EP 6, Design for Social Change: What can graphic designer do to help a social issue?

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564

ระหว่างที่เขียนบทบันทึกนี้ ข่าวคราวมากมายเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ทางสังคมถูกบอกเล่าผ่านหน้าหนังสือพิมพ์เเละอินเทอร์เน็ตเป็นประจำจนชินตา ตั้งเเต่ปัญหาสิ่งเเวดล้อม ปัญหาการเมือง รวมไปถึงปัญหาการจัดการของรัฐต่อผู้อพยพที่เป็นข่าวดังจากการอภิปรายของผู้เเทนราษฏรในสภา

ที่ผ่านมาเวลาเราพูดถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคม เรามักจะนึกถึงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยการริเริ่มแก้ไขจากตัวเราเองมากกว่าการนึกถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกดทับเชิงโครงสร้าง และบ่อยครั้งที่เรามักจะนึกว่าการแก้ปัญหาในสังคมเป็นเรื่องของกลุ่มคนบางกลุ่มมากกว่าที่จะเป็นของพวกเราทุกคน

Emergency Collectibles, Image via clios.com

บทสนทนานี้กำลังพูดถึงกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่านักออกแบบ ที่เชื่อว่ากระบวนการออกเเบบก็สามารถถูกนำมาใช้เพื่อเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้เช่นกัน โดยได้ยกตัวอย่างการออกแบบของกลุ่ม Translate without borders ในค่ายของอพยพชาวโรฮิงญา ที่มีปัญหาด้านการสื่อสารผ่านภาษา เนื่องจากภายในค่ายเองก็ไม่ได้มีเทคโนโลยีช่วยสำหรับการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต หรือเเอปพลิเคชันต่างๆ แต่เเทนที่จะละทิ้งปัญหาด้านการสื่อสาร นักออกแบบกลุ่มนี้กลับเล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องสื่อสารผ่านป้ายเพื่อบอกเส้นทางและ ข้อมูลต่างๆ ภายในค่าย


พวกเขาเริ่มจากการรวบรวมปัญหาจนในท้ายสุดได้มีการทดลองกับผู้ใช้งานอย่างชาวโรฮิงญา ภายในค่าย 
จนพบว่าการสื่อสารผ่านรูปแบบ Signs ที่เป็นจุดกึ่งกลางของภาพที่เสมือนจริงกับภาพที่ถูกตัดทอนแล้ว (ตัวอย่างเช่น การใช้นิ้วชี้ในการบอกทิศทาง แทนที่การใช้เป็นเครื่องหมายเลี้ยวซ้าย และกำกับสัญลักษณ์ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาพม่า) สามารถสื่อสารกับกลุ่มผู้อพยพได้อย่างเข้าใจกว่า


การออกแบบด้วยการใช้ภาพสื่อความหมายเสมือนจริงนี้เองที่ทำให้เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าการใช้ภาพที่เป็นสัญลักษณ์ เราไม่สามารถใช้ความคุ้นชินในสัญลักษณ์ของเราไปสื่อสารในพื้นที่ที่มีวัฒนธรรม ภาษา ที่แตกต่างจากเราได้ทั้งหมด เมื่อพื้นที่สื่อสารเปลี่ยนไป ก็กลายเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่จะต้องทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลในพื้นที่แตกต่างกันของภาษาเเละวัฒนธรรม

Image via thenewhumanitarian.org

สิ่งนี้เองกลับชวนให้คิดถึงกระบวนการเเก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นในทุกโมงยาม ทุกวันคืน ในวันที่พวกเราคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเเละคิดว่าเราไม่สามารถเเก้ปัญหามันได้ หากเพียงเราเปลี่ยนมาเป็นการบ่มเพาะพูดคุยเพื่อค้นหาต้นตอของปัญหา โดยอาศัยกระบวนการออกเเบบมาช่วยในการวางเเผนวิธีการเเก้ไขปัญหา

“เพื่อบ่มเพาะให้เหล่าปัญหาที่เกิดขึ้น
กลายเป็นดอกไม้ที่บานชูช่อสวยงามในอนาคต”

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG