Review: EP12,
Lesson Learned from Creative Drawing Club

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564

โดยไม่ตั้งใจ และเท่าที่จำได้ ตอนเลื่อนผ่านอย่างเร็วๆ ในหน้าฟีดของ Netflix เพื่อหาการ์ตูนสักเรื่อง ผมกลับสะดุดตาเข้ากับการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่เชิญชวนเราเข้าไปดูจากลายเส้นและการใช้สีของมันยิ่งนัก

เปล่า! ผมไม่ได้มาโฆษณา หากแต่กำลังชี้ชวนถึงการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่ชื่อว่า Blue Period เป็นผลงานมังงะของอาจารย์ยามางุจิ สึบาสะ (Yamaguchi Tsubasa) ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.2017 ถึงปัจจุบัน Blue Period เล่าเรื่องผ่าน เด็ก ม.ปลาย ที่มีภาพลักษณ์ภายนอกเป็นเด็กเกเร แต่กลับมีคะแนนการสอบที่ดี ทั้งยังเข้าสังคมได้หลากหลายระดับที่หลายคนอิจฉา แต่ตัวของเขาเองกลับพบว่า ยังมีช่องว่างในใจที่ไม่รู้ว่าจะถมอย่างไร จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้พบกับงานศิลปะ และทำให้เขาได้พบว่าตัวเองอยากเอาจริงเอาจังกับสิ่งใดกันแน่ จนเป็นเหตุที่เขาได้ลองจรดปลายพู่กันเริ่มวาดสิ่งที่อยู่ในความคิดของตนเองเพื่อแสดงออกมา [1]

ภาพจาก – https://twitter.com/blueperiod_PR/status/1407624478692036613

 

การวาดภาพของตัวเอกนี้เองที่ชวนเราคิดถึงการถ่ายทอดความคิดออกมาผ่านการวาดรูปภาพเพื่อที่จะแสดงถึงสิ่งที่เราต้องการจะสนทนาออกมาโดยไม่ต้องใช้คำพูด

มังงะเรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงบทสนทนาในคอร์ส Creative Drawing Club ของ PS±D ที่ชี้ชวนการตั้งคำถามถึงนิยามของการวาดภาพที่ไม่ใช่แค่การวาดภาพทั่วไป

ในบางช่วงบางตอนของบทสนทนา ชวนให้เราหวนคิดถึงความหลากหลายของมนุษย์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นตามกรอบตามระบอบการศึกษา บางครั้งผมนึกถึง Blue Period นึกถึงการจับพู่กันเพื่อออกจากครรลองเดิม ๆ ของตัวเอก

นอกจากความหลากหลายของมนุษย์ที่เราจะได้จากระหว่างทางการเรียนรู้แล้วนั้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะได้จากการวาดภาพจะทำให้เรามีอะไรบางอย่าง โดยไม่ติดอยู่ในเงื่อนไขในวัฒนธรรมนั้น 

เราไม่ได้วาดภาพหากแต่ว่าเรากำลังวาดความคิดออกมา

สังคมแบบอนุรักษ์นิยมบ้านเรากำลังปิดกั้นความคิดบางอย่าง ฉะนั้นการคิดแบบการวาดภาพจะเป็นดั่งประตูในการเปิดโลกในการเรียนรู้และรับฟังความเห็นอื่นๆ ฉะนั้นแล้วไม่ใช่แค่เฉพาะศิลปินหรือนักออกแบบเท่านั้นที่จะสามารถวาดรูปเพื่อบอกกล่าวความคิดออกมาได้ หากแต่ไม่ว่าใครๆ ก็สามารถที่จะบอกกล่าวผ่านการวาดภาพ เพื่อทำการเรียนรู้ รับฟัง พูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน

เพราะการรับฟังกันจากบทสนทนาจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้
จนเป็นการพัฒนาก้าวไปข้างหน้าของคนเรา
จึงทำให้การวาดภาพไม่ใช่แค่การวาดภาพแบบที่เราเคยเข้าใจ


แหล่งอ้างอิง
[1] https://thematter.co/entertainment/how-blue-period-and-sen-wa-boku-wo-egaku-tell-about-art/146823

Realated Content

11 Apr 2024
Leave Your Mark 03 (2024) : Class Note – Epilogue
02 Mar 2024
Leave Your Mark 03 (2024) : Class Note #3
01 Mar 2024
Leave Your Mark 03 (2024) : Class Note #2
01 Mar 2024
Leave Your Mark 03 (2024) : Class Note #1
HASHTAG