Round Table: EP13, Designerd: Storytelling Through Data

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564

บ่อยครั้งที่เรากักเก็บเรื่องราวบางอย่าง เช่น อารมรณ์ความรู้สึก สิ่งที่กระทำแต่ละวันผ่านการจดบันทึก การวาดภาพ ไว้ในสมุดบันทึกของเรา

ยุคสมัยเปลี่ยนไป หลากหลายการทำงานตัดสินกันด้วยนาฬิกาหน้าปัดบอกเวลา การยกมือขึ้นมาจดสิ่งต่างๆ กลับเป็นเรื่องที่ดูเชื่องช้าไปเล็กน้อย บ้างก็ต้องปรับเปลี่ยนจากการจดลงสมุดเปลี่ยนไปจดลงสมุดโน๊ตในโทรศัพท์มือถือ

บางคนกลับมาอ่าน บางคนเลือกที่จะเก็บไว้ในส่วนลึกของลิ้นชัก และบางคนเลือกที่จะนำกลับมาศึกษาเพื่อเข้าใจตนเอง 

มากบ้างน้อยบ้าง หลากหลายผลงานสร้างสรรค์ก็มีที่มาจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากการจดบันทึกเรื่องราวของตัวเองแต่ละวันลงในสมุดบันทึก กลับเป็นจุดเริ่มต้นของชิ้นงานอย่างไม่น่าเชื่อ

‘Work from Phrakhanong’ คือผลงานช่วงโรคระบาดโควิด 19 ของ 2 ดีไซน์เนอร์ – น้ำใส ศุภวงศ์ (จั๊ก) และ ชัญญา ศุภวงศ์ (จิ๊ก) ผ่านจุดสงสัยโดยเริ่มต้นจากคำถามที่ว่า ถ้าอยากทำกระเป๋าขายแต่ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ทุกกระบวนการจะสามารถเกิดขึ้นภายในบริเวณไม่เกิน 2 กิโลเมตรรอบบ้าน (ระยะที่เดินเท้าไหว) จะทำได้หรือไม่คำถามนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นมาจากข้อสงสัยในสมุดบันทึกเล็กๆ ของพวกเธอ

การทำงานชิ้นนี้เริ่มจากการทำความรู้จักกับช่างเย็บผ้าแถวบ้านจากการเก็บข้อมูลเพื่อทำการเปรียบเทียบ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะสามารถหาช่างที่พอจะมีฝีมือและยอมรับการสร้างผลงานที่อาจดูจุกจิกจากนักออกแบบได้

แน่นอนว่า กระบวนการออกแบบถูกนำมาใช้ตั้งแต่การเลือกช่างเย็บ ตั้งแต่การทำความรู้จักช่างแต่ละคนไปเพื่อการร่วมงานในอนาคต และเพื่อที่จะเห็นความแตกต่างของช่างแต่ละคนได้ชัดที่สุดจากการให้ลองทำชิ้นงานด้วยวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ช่างได้ลองตั้งคำถามจากความสงสัยสับสนและได้แก้ปัญหาตามแนวทางตัวเอง

การจดและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของช่างคนต่างๆ ก็ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ จากการเปรียบเทียบทั้งเวลา ทั้งรูปทรง ของผลิตภัณฑ์ที่ได้

เพื่อให้เป็นผลงานที่ถูกเปรียบเทียบแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานชุด ‘Work from Phrakhanong’ ที่กำลังจะเริ่มต้นกับระยะที่ 2 ของโครงการ เพื่อพัฒนาผลงานต่อไป

การจดบันทึกนี้เอง
นอกจากการสามารถกลับมาอ่านสิ่งที่เราจดไว้แล้วทำให้เรารู้จักและเข้าใจตัวเองในอดีตมากขึ้น ในบางครั้งกลับทำให้เราสามารถเข้าใจผู้อื่น และสามารถออกแบบบริบทโดยรอบได้แจ่มชัดมากขึ้นจากการค่อยๆ อ่าน ละเลียดวิเคราะห์จากข้อมูลที่เรามี  จากการเปรียบเทียบสิ่งที่เราจด เพื่อออกแบบสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วให้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกได้มากยิ่งขึ้น

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG